ผลของการรับประทาน แอลคาร์นิทีน
Carnitine ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกาย โครเมียม ช่วยเสริมฤทธิ์ของ L-Carnitine ในการเผาผลาญไขมัน ถั่วขาว ช่วยลดการดูดซึมแป้ง แคปซิคั่ม ช่วยเพิ่มการเผาผลาญของร่างกาย ยับยั้งการเปลี่ยนแป้งและน้ำตาลเป็นไขมันสะสมตามร่าง
ผอมได้ไวด้วยแอลคาร์นิทีน
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ลดต้นแขน ต้นขา หน้าท้องและกระชับสัดส่วน ไม่โยโย่ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีน้ำหนักเพิ่มหลังคลอดบุตร หน้าท้องหย่อนยานสามารถลดน้ำหนักได้ ยิ่งถ้าออกกำลังกายด้วยแล้วยิ่งทำให้เห็นผลเร็วไว
แอลคาร์นิทีนแบบฉีด
เพื่อเป็นการเร่งเผาพลาญไขมันส่วนเกิน ได้อย่างรวดเร็ว ลดได้สัปดาห์ละ 2-4 กิโล ไม่มีอันตรายต่อร่างกายอย่างแน่นอน เพราะแอลคาร์นิทีนจะเข้าไปช่วยเร่งละเปลี่ยนไขมันสะสมในร่างกายเป็นพลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้
แอลคาร์นิทีน กับการลดน้ำหนัก
ความเป็นจริงนั้น หน้าที่หลักของ Carnitine จะช่วยลำเลียงโมเลกุลไขมันเล็กๆ เข้าไปใช้ใน เซลล์ต่างๆ ซึ่งในจุดนี้เองที่จะทำให้เกิดการนำไขมันไปเปลี่ยนเป็นพลังงาน ดังนั้นหากร่างกายขาดสาร Carnitine หรือมีไม่เพียงพอที่จะเป็นตัวพาเม็ดไขมันไปเผาผลาญแล้วละก็ ปัญหาสุขภาพ
แอลคาร์นิทีน พลัส
มีแอลคาร์นิทีน(L-Carnitine) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ผลิตได้ที่ตับ ทำหน้าที่ช่วยเร่งการเผาผลาไขมันลดความอ้วน ลดไขมันส่วนเกิน ดักจับไขมันสัตว์ คาร์โบไฮเดรต และแป้ง ช่วยให้ไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglycerides) อยู่ในระดับต่ำ ป้องกันโรคหัวใจ และช่วยป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
กฎหมายชาวบ้าน
กฎหมายชาวบ้าน ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย กฎหมายเข้าใจง่าย กฎหมายในชีวิตประจำวัน กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ อาวุธปืน การเล่นแชร์ การใช้นามสกุล "นาง"หรือ "นางสาว" การจดทะเบียนกะต่างชาติ
วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553
วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายประเทศไทยดี และต้องเปลี่ยนนามสกุล, ใช้ "นาง" ด้วยหรือไม่
"จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายประเทศไทยดี และต้องเปลี่ยนนามสกุล, ใช้ "นาง" ด้วยหรือไม่ "
ข้อเท็จจริงได้ความว่า คุณกำลังจะจดทะเบียนสมรสกับคนต่างชาติที่สถานทูตของเขาในไทย คุณอยากทราบว่า หากจะจดหรือไม่จดทะเบียนไทย รวมถึงการเปลี่ยนบัตรประชาชนเป็นนางด้วยนั้น จะมีผลดีและผลเสียอย่างไรบ้าง เพราะเพื่อนแต่งงานกับฝรั่งแต่อยู่เมืองนอก เขาก็บอกไม่เคยเปลี่ยนอะไร และจะได้ทำนิติกรรมได้สะดวกไม่ต้องให้สามีต้องเซ็นร่วมนั้น
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ ขอเรียนให้ทราบดังนี้ คุณจะจดทะเบียนสมรสกับคนต่างชาติที่สถานทูตของเขาในไทยนั้น การจดทะเบียนสมรสดังกล่าวมีผลตามกฎหมายของประเทศของสามี และมีผลตามกฎหมายไทยด้วย โดยที่คุณไม่ต้องจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยอีก แต่ต้องไปบันทึกสถานะครอบครัวที่สำนักงานเขตหรืออำเภอใกล้บ้านของคุณ ผลของการกระทำดังกล่าว จะมีหลักฐานว่าคุณเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีคุณ ในอนาคตถ้าสามีคุณเสียชีวิตคุณเป็นทายาทโดยธรรมที่จะได้รับทรัพย์มรดกของสามีไม่ว่าทรัพย์มรดกนั้นจะอยู่ในหรือนอกราชอาณาจักรไทยก็ตาม
กรณีที่คุณจดทะเบียนสมรสหรือบันทึกสถานะครอบครัวนั้นตามกฎหมายไทย คุณมีสิทธิใช้คำนำหน้านามเป็น “นางสาว, นาง” และมีสิทธิใช้นามสกุลของสามีหรือใช้นามสกุลเดิมก็ได้ หรือจะใช้นามสกุลเดิมเป็นชื่อรองของคุณก็ได้ ข้อดีของการเปลี่ยนนามสกุลตามสามี คือ มีความสะดวกในการขอวีซ่าเข้าประเทศสามีและเดินทางตามสามีไปต่างประเทศหรือการท่องเที่ยว
ส่วนเรื่องที่ต้องให้สามีต้องลงชื่อร่วมในการทำนิติกรรมนั้น จะเกิดขึ้นเมื่อเป็นการทำนิติกรรมที่สำคัญ ๆ เท่านั้น เช่น การซื้อบ้านและที่ดิน เป็นต้น การที่กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้เพื่อความชัดเจนไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างสามีภริยาในภายภาคหน้า แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนนามสกุล หรือเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อเป็นนางหรือไม่ เพราะถ้าจดทะเบียนสมรสกับสามีแล้ว การทำนิติกรรมตามที่กฎหมายกำหนดว่าต้องให้สามีให้ความยินยอมก่อนก็ต้องเป็นไปตามนั้น ส่วนการทำนิติกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวันนั้นมักไม่ค่อยมีวิธีการที่ยุ่งยากอยู่แล้ว
วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
จำนำ
จำนำ
การ จำนำ คือการที่ผู้จำนำส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตนเป็นเจ้าของให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นการประกันว่าตนจะชำระหนี้ (มาตรา ๗๔๗ และมาตรา ๗๔๘) และในกรณีที่ทรัพย์สินที่นำมาจำนำ มีตราสารหนี้ (ตราสารหนี้เป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามกฎหมายและจะโอนกันได้ก็ต่อเมื่อโอนด้วย วิธีของตราสารนั้นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ใบหุ้น หรือตั๋วเงิน เป็นต้น) ผู้จำนำต้องแจ้งให้ผู้รับจำนำทราบ และต้องมอบตราสารหนี้นั้นให้ผู้รับจำนำไว้ด้วย (มาตรา ๗๕๐ มาตรา ๗๕๑ มาตรา ๗๕๒ และมาตรา ๗๕๓)
ในการบังคับจำนำ ผู้รับจำนำต้องแจ้งให้ผู้จำนำทราบล่วงหน้า ถ้าผู้จำนำยังเพิกเฉย ผู้รับจำนำอาจนำทรัพย์สินที่จำนำนั้นออกขายทอดตลาดได้ (มาตรา ๗๖๔ มาตรา ๗๖๕ มาตรา ๗๖๖ มาตรา ๗๖๗ และมาตรา ๗๖๘)
การจำนำสิ้นสุดเมื่อ หนี้ที่นำมาจำนำระงับไป เช่น มีการชำระหนี้กันแล้ว หรือได้หักกลบลบหนี้กันแล้ว เป็นต้น การที่ผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินที่จำนำกลับไปสู่การครอบครองของผู้จำนำย่อม ทำให้การจำนำสิ้นสุดลงเช่นกัน (มาตรา ๗๖๙)
การ จำนำ คือการที่ผู้จำนำส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตนเป็นเจ้าของให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นการประกันว่าตนจะชำระหนี้ (มาตรา ๗๔๗ และมาตรา ๗๔๘) และในกรณีที่ทรัพย์สินที่นำมาจำนำ มีตราสารหนี้ (ตราสารหนี้เป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามกฎหมายและจะโอนกันได้ก็ต่อเมื่อโอนด้วย วิธีของตราสารนั้นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ใบหุ้น หรือตั๋วเงิน เป็นต้น) ผู้จำนำต้องแจ้งให้ผู้รับจำนำทราบ และต้องมอบตราสารหนี้นั้นให้ผู้รับจำนำไว้ด้วย (มาตรา ๗๕๐ มาตรา ๗๕๑ มาตรา ๗๕๒ และมาตรา ๗๕๓)
ในการบังคับจำนำ ผู้รับจำนำต้องแจ้งให้ผู้จำนำทราบล่วงหน้า ถ้าผู้จำนำยังเพิกเฉย ผู้รับจำนำอาจนำทรัพย์สินที่จำนำนั้นออกขายทอดตลาดได้ (มาตรา ๗๖๔ มาตรา ๗๖๕ มาตรา ๗๖๖ มาตรา ๗๖๗ และมาตรา ๗๖๘)
การจำนำสิ้นสุดเมื่อ หนี้ที่นำมาจำนำระงับไป เช่น มีการชำระหนี้กันแล้ว หรือได้หักกลบลบหนี้กันแล้ว เป็นต้น การที่ผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินที่จำนำกลับไปสู่การครอบครองของผู้จำนำย่อม ทำให้การจำนำสิ้นสุดลงเช่นกัน (มาตรา ๗๖๙)
วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ลูกถูกหมา (คนอื่น)กัด
ลูกถูกหมา (คนอื่น)กัด
ก่อนอื่นเรามาดูหลักกฎหมายกันก่อน เพราะเรื่องนี้มีกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
แต่ก่อนจะดำเนินการตามกฎหมาย อย่าลืมล้างแผลให้ลูกด้วยสบู่ก่อนนะ แล้วพาไปหาหมอ จากนั้นก็ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมหมาที่มากัดลูกเรา ว่ามีอาการโรคกลัวน้ำหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องรีบดำเนินการให้หมอจัดการฉีดยาแก้โรคกลัวน้ำเสียนะ
เดี๋ยวนี้ไปไหนมาไหนเห็นคนเดินจูงสุนัขเกลื่อนไปหมด บางคนเอาสุนัขไปแปลงโฉมตัดขนเล็มขน บางคนจับมันแต่งตัวใส่กระโปรงนุ่งกางเกง ถึงกับมีร้านตัดชุดสำหรับสุนัขโดยเฉพาะ แถมเวลาเจ้าของมีธุระต่างจังหวัดไม่ส่ามารถเอาสุดที่รัก(สุนัข) ไปด้วย ยังเอาสุดที่รัก(สุนัข) ไปเข้าโรงแรมสำหรับสุนัขได้ด้วย
แต่ก่อนหาคนอยากเรียนหมอรักษาสัตว์หรือสัตวแพทย์ลำบากเหลือเกินเดี๋ยวนี้สัตวแพทย์รายได้ดีมาก ต่างคนต่างแย่งกันเรียน เปิดคลีนิครักษาสัตว์เฉพาะสุนัขก็รวยไม่เลิกอยู่แล้ว ท่านผู้อ่านลองสังเกตดูว่า เดี๋ยวนี้โลกมันกลับตาละปัตร สายอาชีวะแต่ก่อนว่าด้วย แต่เดี๋ยวนี้จบสายอาชีวะสามารถทำเงินได้มากกว่าสายสามัญ ขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นบ้านที่คนจนเขากินกัน เดี๋ยวนี้ขึ้นภัตตาคาร ราคาแพง น้ำพริกกุ้งเสียบแต่ก่อนชาวบ้านกินกัน เศรษฐีต้องกินหูฉลาม เดี๋ยวนี้ น้ำพริกกุ้งเสียบชุดละ 60 บาท ดังนั้น หากท่านผู้อ่านคิดจะทำอะไร ลองนึกถึงเรื่องเก่า ๆ แล้วหยิบของเก่า ๆ สมัยโบราณมาทำขายดูซิ ดีไม่ดีอาจจะเป็นเศรษฐีในพริบตา
คุยนอกเรื่องไปเยอะแลย เรากลับมาเรื่องสุนัขของเราต่อนะครับ การเลี้ยงสุนัขบางคนเลี้ยงลูกสุนัขขนาดใหญ่ดูท่าทางน่ากลัว บางคนก็เลี้ยงสุนัขพันธุ์ล่าเนื้อ เอาดุ ๆ เข้าว่า ขโมยโจรได้ยินเสียงต้องถอยฉากก่อนว่างั้นเหอะ บางคนเลี้ยงขนาดกระเป๋า บางคนเลี้ยงขนาดรูปร่าง พันธุ์เห่ามั่งไม่เห่ามั้ง ทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่
วันดีคืนดี ถ้าเราเปิดประตูบ้านทิ้งไว้ มันจะเข้ามาถ่ายในสนามหน้าบ้านเป็นประจำ ถ้าไม่เปิดประตูมันัก็ไม่มายุ่ง จนวันหนึ่งทนไม่ได้จึงปักป้ายว่า "ถ้าหมายเข้ามาขี้อีก หมาตาย" ปรากฎว่าน่าแปลกที่สุนัขบ้านเพื่อนบ้านมันฉลาดมาก มันอ่านป้ายรู้เรื่อง ตั้งแต่นั้นมามันไม่เคยเข้ามาถ่ายในสนามหน้าบ้านอีกเลย
ท่านผู้อ่าน เมื่อนึกถึงลูกอันเป็นดวงใจของเราจะตัวเล็ก ตัวใหญ่ขนาดไหน ก็ตามอาจจะเคยถูกหมาไล่งับมาบ้าง ไม่มากก็น้อย อย่างน้อยก็ถูกหมาเห่า เพียงแค่นั้นไม่เกิดปัญหามาให้เราคุยกันแน่ แต่ที่เรามาคุยกันวันนี้ เป็นกรณีที่หมามันกัด แต่ถ้าเป็นหมาของคนที่ไม่ค่อบชอบขี้หน้ากันอยู่ คงจะปรึกษาว่าทำอย่างไรที่จะเอามันเข้าคุกให้ได้ อย่าเพิ่งถึงขนาดนั้นเลย
ก่อนอื่นเรามาดูหลักกฎหมายกันก่อน เพราะเรื่องนี้มีกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ในทางอาญา กฎหมายเขาบอกว่า " ผู้ใดควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้ายปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพังในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินครึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
เห็นไหม ยังไม่ต้องถึงไม่กัดใครเข้านะ เพียงแค่เดินไปคำรามแฮ่ ใส่คนโน้น คนนี้ เจ้าของก็นโดนแจ๊คพอต เข้าให้แล้ว คำว่าสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย หมายถึง สัตว์อะไรก็ได้ที่มันดุร้ายหรือมันร้าย รวมถึงหมาที่เห็นคนแปลกหน้าที่ไม่ใช่เจ้าของแล้วกระโจนใส่ แต่ไม่หมายรวมถึงลูกเกเรของใครที่พอออกนอกบ้านแล้วชอบเที่ยวไปตีหัวหรือชกต่อยลูกคนอื่น เพราะเขาเป็นมนุษย์ไม่ใช่สัตว์
ในทางแพ่ง กฎหมายเขาบอกไว้ว่า "ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยง รับรักษาไว้แทนเจ้าของ จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหาย เพื่อความเสียหายอย่าง ใด ๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะได้พิสูจน์ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยง การักษาตามชนิด และวิสัยของสัตว์หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่นหรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้น ย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น
อนึ่ง บุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่น อันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้น ๆ ก็ได้
ดังนั้น หากเกิดกรณีลูกของท่านถูกหมากัดคนอื่นกัด ก็คงจะต้องพูดคุยเจรจากันก่อน หากหัวหมอก็ไปแจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีกับเจ้าของหมา แต่เนื่องจากเป็นความผิดลหุโทษ ตำรวจอาจเปรียบเทียบปรับได้ แต่หากท่านในฐานเป็นผู้เสียหายไม่ยอมให้เปรียบเทียบปรับ ตำรวจก็จะส่งเรื่องไปที่อัยการ แล้วอัยการก็จะไปยื่นฟ้องเจ้าของหมาที่ศาล
ส่วนในเรื่องการเรียกร้องค่าเสียหายหากตกลงกันได้เองก็จบกันไป แต่ขอแนะนำว่าน่าจะตกลงอะไรกันให้ทำบันทึกไว้ หากตกลงกันไม่ได้ก็ต้องไปยื่นฟ้องที่ศาลเรียกร้องค่าเสียหาย
แต่ก่อนจะดำเนินการตามกฎหมาย อย่าลืมล้างแผลให้ลูกด้วยสบู่ก่อนนะ แล้วพาไปหาหมอ จากนั้นก็ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมหมาที่มากัดลูกเรา ว่ามีอาการโรคกลัวน้ำหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องรีบดำเนินการให้หมอจัดการฉีดยาแก้โรคกลัวน้ำเสียนะ
ให้
ให้
ที่นี้เมื่อให้แล้วจะเอาคืนได้หรือไม่ มีทั้งได้และไม่ได้
เดี๋ยว อย่าพึ่งหาว่ากวนอวัยวะเบื้องล่าง เหตุที่เขียนอย่างนี้เพราะกฎหมายเขาบอกว่า
2) ถ้าผู้ได้รับทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
3) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้ และผู้รับยังสามารถจะให้ได้"
อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดี เมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้น
ในกรณีที่ตอบว่า "ไม่ได้" ก็มีกฎหมายเขาเขียนไว้ว่า
"การให้อันัจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าจะถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้คือ
1) ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้
2) ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน
3) ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
4) ให้ในการสมรส
ถ้าอยู่ในสี่จำพวกนี้แล้วหมดสิทธิถอนคืนการให้เด็ดขาด
เรามาดูความหมายของแต่ละข้อดีไหม จะได้รู้ว่าให้แบบไหนที่ถอนคืนการให้ไม่ได้ แม้จะเป็นเพราะเหตุเนรคุณ
ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ ก็คงเป็นที่เข้าใจโดยง่ายว่าเป็นเรื่องของการให้เป็นค่าจ้างหรือการตอบแทนผู้รับได้ทำอะไรให้แก่ผู้ให้ซึ่งไม่ใช่เป็นการทำให้กันเปล่า ๆ แต่ผู้รับก็ทำให้โดยไม่ได้คิดค่าจ้าง ผู้จ้างก็เลยยกทรัพย์สินให้เป็นบำเหน็จ
ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน หมายถึง เป็นการให้ที่ผู้ให้ได้ให้ทรัพย์สินไปแล้ว แต่มีเงื่อนไขให้ผู้รับต้องปฏิบัติต่อไปเกี่ยวกับการให้นั้น เช่น พ่อจะยกที่ดินให้ลูกแต่มีเงื่อนไขให้ลูกใช้หนี้และไถ่จำนองก่อน เมื่อลูกใช้หนี้และไถ่จำนองให้แล้ว พ่อจึงยกที่ดินให้ลูก กรณีที่พ่อให้ลูกกรณีนี้ เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน
ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา เป็นกรณีที่ผู้ให้ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย แต่มีหน้าที่ตามศีลธรรมตัวอย่างที่หนึ่ง กรณีชายฉุดคร่าหญิงไปเป็นภรรยา ต่อมาได้ขอขมาและยกที่ดินให้กับพี่ชายของหญิง ซึ่งพี่ชายของหญิง ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงดูแต่เมื่อชายยกที่ดินให้เช่นนี้ เป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยา เอ้า ลองมาดูอีกหน่อย พ่อยกที่ดินที่มีราคาสูง และทรัพย์ส่วนใหญ่ให้ลูกสาวแต่ผู้เดียว บุตรคนอื่นไม่ให้กรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา นะ เป็นการให้โดยเสน่หา ซึ่งสามารถถอนคืนการให้ เพราะเหตุเนรคุณได้
ให้ในการสมรส โดยความหมายแล้ว ก็คือ ให้ในขณะทำการสมรส หรืออาจจะให้ก่อนสมรส แต่ต้องไม่ใช่ให้หลังการสมรส
เรื่องของการให้อย่างง่าย ๆ ที่ผู้อ่านพอจะทำความเข้าใจได้ง่าย ๆ ก็มีแค่นี้หล่ะ
การให้ตามกฎหมายคืออะไร เรามาดูตัวบทกฎหมายกันดีกว่า กฎหมายบอกว่า "อันว่าให้นั้นคือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น"
ให้โดยเสน่หา ก็คือ ให้ด้วยความรัก ความพอใจ ของผู้ให้นั้นแหล่ะที่นี้เมื่อให้แล้วจะเอาคืนได้หรือไม่ มีทั้งได้และไม่ได้
เดี๋ยว อย่าพึ่งหาว่ากวนอวัยวะเบื้องล่าง เหตุที่เขียนอย่างนี้เพราะกฎหมายเขาบอกว่า
"อันผู้ให้จะเรียกให้ถอนคืนการให้ เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้นท่านว่าอาจจะเรียกได้เพียงแต่ในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้
1) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญาหรือ2) ถ้าผู้ได้รับทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
3) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้ และผู้รับยังสามารถจะให้ได้"
กฎหมายเรียกคืนการให้ได้เพราะเหตุ 3 อย่างข้างต้นนี้เท่านั้น แต่กฎหมายก็ยังเข้มงวดจำกัดลงไปอีกว่า ถึงแม้จะคืนการให้ได้ด้วยเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณก็ตาม "เมื่อผู้ให้ได้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณนั้นแล้วก็ดี หรือเมื่อเวลาล่วงเลยไปแล้ว 6 เดือน นับแต่เหตุเช่นนั้นได้ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ได้นั้นก็ดี ท่านว่าหาอาจจะถอนคืนการให้ได้ไม่
อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดี เมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้น
เห็นมั้ย ถึงแม้จะเรียกคืนการให้ด้วยเหตุประพฤติเนรคุณแต่ถ้าหากผู้ให้ได้ให้อภัยแล้วก็หมดสิทธิที่จะถอนคืนการให้ หรือปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปแล้วถึง 6 เดือน นับแต่ได้ทราบเหตุที่ผูรับประพฤติเนรคุณ ก็ถอนคืนการให้ไม่ได้ และหากว่าจะทราบเหตุถอนคืนการให้เมื่อเวลาล่วงพ้นไปแล้วถึง 10 ปี ก็ฟ้องไม่ได้เช่นกัน
ในกรณีที่ตอบว่า "ไม่ได้" ก็มีกฎหมายเขาเขียนไว้ว่า
"การให้อันัจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าจะถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้คือ
1) ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้
2) ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน
3) ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
4) ให้ในการสมรส
ถ้าอยู่ในสี่จำพวกนี้แล้วหมดสิทธิถอนคืนการให้เด็ดขาด
เรามาดูความหมายของแต่ละข้อดีไหม จะได้รู้ว่าให้แบบไหนที่ถอนคืนการให้ไม่ได้ แม้จะเป็นเพราะเหตุเนรคุณ
ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ ก็คงเป็นที่เข้าใจโดยง่ายว่าเป็นเรื่องของการให้เป็นค่าจ้างหรือการตอบแทนผู้รับได้ทำอะไรให้แก่ผู้ให้ซึ่งไม่ใช่เป็นการทำให้กันเปล่า ๆ แต่ผู้รับก็ทำให้โดยไม่ได้คิดค่าจ้าง ผู้จ้างก็เลยยกทรัพย์สินให้เป็นบำเหน็จ
ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน หมายถึง เป็นการให้ที่ผู้ให้ได้ให้ทรัพย์สินไปแล้ว แต่มีเงื่อนไขให้ผู้รับต้องปฏิบัติต่อไปเกี่ยวกับการให้นั้น เช่น พ่อจะยกที่ดินให้ลูกแต่มีเงื่อนไขให้ลูกใช้หนี้และไถ่จำนองก่อน เมื่อลูกใช้หนี้และไถ่จำนองให้แล้ว พ่อจึงยกที่ดินให้ลูก กรณีที่พ่อให้ลูกกรณีนี้ เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน
ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา เป็นกรณีที่ผู้ให้ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย แต่มีหน้าที่ตามศีลธรรมตัวอย่างที่หนึ่ง กรณีชายฉุดคร่าหญิงไปเป็นภรรยา ต่อมาได้ขอขมาและยกที่ดินให้กับพี่ชายของหญิง ซึ่งพี่ชายของหญิง ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงดูแต่เมื่อชายยกที่ดินให้เช่นนี้ เป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยา เอ้า ลองมาดูอีกหน่อย พ่อยกที่ดินที่มีราคาสูง และทรัพย์ส่วนใหญ่ให้ลูกสาวแต่ผู้เดียว บุตรคนอื่นไม่ให้กรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา นะ เป็นการให้โดยเสน่หา ซึ่งสามารถถอนคืนการให้ เพราะเหตุเนรคุณได้
ให้ในการสมรส โดยความหมายแล้ว ก็คือ ให้ในขณะทำการสมรส หรืออาจจะให้ก่อนสมรส แต่ต้องไม่ใช่ให้หลังการสมรส
เรื่องของการให้อย่างง่าย ๆ ที่ผู้อ่านพอจะทำความเข้าใจได้ง่าย ๆ ก็มีแค่นี้หล่ะ
วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552
การขอรับการสงเคราะห์เมื่อบ้านถูกลมพัดพังหรือไฟไหม้
การขอรับการสงเคราะห์เมื่อบ้านถูกลมพัดพังหรือไฟไหม้
๑.สถานที่ติดต่อ
- ไปที่ที่ว่าการอำเภอ
๒.หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ
- บัตรประจำตัวประชาชน
๑.สถานที่ติดต่อ
- ไปที่ที่ว่าการอำเภอ
๒.หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ
- บัตรประจำตัวประชาชน
การขอทำใบขับขี่รถยนต์ส่วนตัวและรถจักรยานยนต์
การขอทำใบขับขี่รถยนต์ส่วนตัวและรถจักรยานยนต์
๑.อายุของผู้ทำใบขับขี่
- ผู้ขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์
- ผู้ขอทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ความจุกระบอกสูบขนาดไม่เกิน ๙๐ ลูกบาศก์เวนติเมตร ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปี บริบูรณ์
๒.สถานที่ติดต่อ
- มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครไปติดต่อสำนักงานทะเบียนรถยนต์กรมขนส่งทางบก หรือสำนักงานทะเบียนรถยนต์ สาขาที่เขตบางขุนเทียน เขตพระโขนง เขตหนองจอก หรือเขตตลิ่งชันแล้วแต่กรณี มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด ไปติดต่อ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งสาขา (ถ้ามี)
๓.หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางแล้วแต่กรณีพร้อมภาพถ่าย
- ภาพถ่ายหรือสำเนาทะเยียนบ้าน , ใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือหลักฐานแสดงที่พักอาศัยในราชอาณาจักร หรือผู้ยื่นคำขอในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองซึ่งมิใช่เป็นการเข้ามาเพียงการท่องเที่ยว การเล่นกีฬา หรือการเดินทางผ่านราชอาณาจักรแล้วแต่กรณี
- ใบรับรองแพทย์ แสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถและไม่เป็นบุคลวิกลจริต หรือ จิตฟั่นเฟือน
- รูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรง ไม่สวมหมวก และแว่นดำ เว้นแต่บุคคลซึ่งจำเป็นต้องสวมหมวกหรือดพกผ้าตามลัทธิศาสนาของตน ขนาด ๓*๔ เซนติเมตร จำนวน ๒ รูป ซึ่งถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน ๖ เดือน
- ถ้ามีหลักฐานดังต่อไปนี้ต้องนำไปด้วย
- ใบอนุญาตเป็นผู้ขอรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกหรือกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร
- ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศตามอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน ทำ ณ นครเจนีวา ค.ศ.๑๙๔๙
๑.อายุของผู้ทำใบขับขี่
- ผู้ขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์
- ผู้ขอทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ความจุกระบอกสูบขนาดไม่เกิน ๙๐ ลูกบาศก์เวนติเมตร ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปี บริบูรณ์
๒.สถานที่ติดต่อ
- มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครไปติดต่อสำนักงานทะเบียนรถยนต์กรมขนส่งทางบก หรือสำนักงานทะเบียนรถยนต์ สาขาที่เขตบางขุนเทียน เขตพระโขนง เขตหนองจอก หรือเขตตลิ่งชันแล้วแต่กรณี มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด ไปติดต่อ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งสาขา (ถ้ามี)
๓.หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางแล้วแต่กรณีพร้อมภาพถ่าย
- ภาพถ่ายหรือสำเนาทะเยียนบ้าน , ใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือหลักฐานแสดงที่พักอาศัยในราชอาณาจักร หรือผู้ยื่นคำขอในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองซึ่งมิใช่เป็นการเข้ามาเพียงการท่องเที่ยว การเล่นกีฬา หรือการเดินทางผ่านราชอาณาจักรแล้วแต่กรณี
- ใบรับรองแพทย์ แสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถและไม่เป็นบุคลวิกลจริต หรือ จิตฟั่นเฟือน
- รูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรง ไม่สวมหมวก และแว่นดำ เว้นแต่บุคคลซึ่งจำเป็นต้องสวมหมวกหรือดพกผ้าตามลัทธิศาสนาของตน ขนาด ๓*๔ เซนติเมตร จำนวน ๒ รูป ซึ่งถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน ๖ เดือน
- ถ้ามีหลักฐานดังต่อไปนี้ต้องนำไปด้วย
- ใบอนุญาตเป็นผู้ขอรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกหรือกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร
- ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศตามอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน ทำ ณ นครเจนีวา ค.ศ.๑๙๔๙
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)