- แชร์มีการเล่นในประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้วเดิมการเล่นแชร์นั้นไม่มีกฎหมายควบคุม โดยเฉพาะเมื่อมีกรณีพิพาทกันขึ้น ศาลก็บังคับให้ในเรื่องสัญญาทั่วไปแต่เนื่องจากในปัจจุบันได้มีผู้ ประกอบธุรกิจเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการแล่นแชร์กันอย่างกว้างขวาง การประกอบธุรกิจดังกล่าวนอกจากจะเป็นอันตรายต่อประชาชนแล้วยังกระทบต่อการระดมเงินออมของสถาบันการเงินที่ทางราชการสนับสนุนและรับผิดชอบ และส่งผลกระทบไปถึงระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวมอีกด้วย นอกจากนี้ยังปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวหลายรายได้พยายามดำเนินการให้ใกล้เคียงกับการประกอบธุรกิจเงินทุน ซึ่งมีกฎหมายควบคุมอยู่แล้วรัฐจึงได้ออกกฎหมายห้ามการประกอบธุรกิจประเภทนี้ ส่วนการเล่นแชร์ของประชาชนทั่วไปที่มิได้ดำเนินการเป็นธุรกิจนั้น ยังให้กระทำต่อไปได้
- การเล่นแชร์ ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 หมายความว่า การที่บุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปตกลงกันเป็นสมาชิกวงแชร์ โดยแต่ละคนมีภาระที่จะส่งเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดรวมเข้าเป็นทุนกองกลางเป็นงวดๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไปโดยการประมูลหรือโดยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการรวมทุนในลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงด้วย
- การเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีข้อห้ามตามกฎหมายอย่างไรบ้าง ข้อห้ามตามกฎหมายที่มิให้เป็นนายแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีดังต่อไปนี้
1. ห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนก็ห้ามด้วยเช่นกัน
2. บุคคลธรรมดา ห้ามมิให้เป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์
2.1 ห้ามมิให้มีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน
2.2 ห้ามมิให้เป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่า 3 วง
2.3 ห้ามนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่า 300,000 บาท
2.4 นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์จะได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น นอกจากสิทธิที่จะได้รับทุนกองกลางในการเข้าร่วมเล่นแชร์ในงวดหนึ่งโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเท่านั้น - นอกจากนี้กฎหมายยังให้ถือว่าผู้ที่สัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ด้วย ซึ่งเฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคลไม่อาจสัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์หรือสมาชิกวงแชร์ได้ การที่สมาชิกวงแชร์เข้าร่วมเล่นแชร์กับบุคคลธรรมดาอันมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 2.1 , 2.2 , 2.3 และ 2.4 นั้นไม่ทำให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดซึ่งสมาชิกส่งรวมเข้าเป็นทุนกองกลางเป็นงวดๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไปโดยการประมูลหรือโดยวิธีอื่นใดแล้วต้องเสียไปเปล่า สมาชิกวงแชร์สามารถฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ได้
- การโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์สามารถทำได้หรือไม่ การโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์ไม่สามารถทำได้เพราะ ถ้าอนุญาตให้มีการโฆษณาชี้ชวนแล้วจะมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจ การใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในทางธุรกิจที่มีคำว่า “แชร์” หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกันและรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วต้องห้ามตามกฎหมาย ในกรณีที่มีการประกาศของรัฐมนตรีแล้ว ให้ผู้ที่ใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจที่มีคำที่รัฐมนตรีประกาศอยู่แล้วในมีวันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อดังกล่าวต่อไปได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ
- การเล่นแชร์กันก่อนที่กฎหมายประกาศ ใช้บังคับจะมีผลหรือไม่อย่างไร
1. ผู้ที่เป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์กันก่อนที่กฎหมายจะกำหนดข้อห้ามอาจดำเนินการดังกล่าวเฉพาะวงแชร์ที่ค้างอยู่ต่อไปได้จนกว่าจะเสร็จ แต่ต้องไม่เกินสองปี
2. ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลและประสงค์จะดำเนินการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์เฉพาะวงแชร์ที่ยังค้างอยู่ต่อไป ให้ยื่นรายการเกี่ยวกับกิจการการเล่นแชร์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวัน
3. ถ้านิติบุคคลใดมีวัตถุประสงค์เป็นนายวงแชร์ให้นิติบุคคลยื่นคำขอต่อนายทะเบียนยกเลิกวัตถุประสงคืดังกล่าวภายใน180 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับ เว้นแต่นิติบุคคลนั้นยังมีการเล่นแชร์ที่ค้างอยู่ให้นิติบุคคลนั้นดำเนินการยกเลิกวัตถุประสงค์ดังกล่าวอย่างช้าต้องไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวบังคับใช้
4. สัญญาที่นิติบุคคลสัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์หรือสมาชิกวงแชร์ก่อนที่กฎหมายนี้ใช้บังคับสามารถใช้ได้
5. ผู้ที่ใช้ชื่อหรือแสดงชื่อในธุรกิจที่มีคำว่า “แชร์” อยู่แล้วในวันที่กฎหมายใช้บังคับให้ใช้ชื่อหรือคำแสดงดังกล่าวต่อไปได้ไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่เป็นผู้ที่มีวงแชร์ค้างอยู่ก็จะต้องดำเนินการต่อไปให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี
การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการเล่นแชร์มีโทษแค่ไหนเพียงใด - การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการเล่นแชร์มีทั้งโทษปรับและจำคุกแล้วแต่ลักษณะของความผิดที่น่ารู้มีดังต่อไปนี้
1. การที่บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนมากกว่า 3 วง หรือมีสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน หรือมีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่า 300,000 บาท หรือนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์นั้นได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่จะได้รับทุนกองกลางในการเข้าร่วมเล่นแชร์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1 เท่า ถึง 3 เท่า ของทุนกองกลางแต่ละงวดของทุกวงแชร์ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท และให้ศาลสั่งให้นิติบุคคลนั้นหยุดดำเนินการเป็นนายวงแชร์หรือการจัดให้มีการเล่นแชร์
3. ผู้ใดโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
4. ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์หรือสัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงหรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์หรือสมาชิกวงแชร์ กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการจัดการหรือบริหารงานของนิติบุคคลนั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลด้วย
5. ผู้ใดใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจที่มีคำว่า “แชร์” หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 500 บาทตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน
กฎหมายชาวบ้าน ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย กฎหมายเข้าใจง่าย กฎหมายในชีวิตประจำวัน กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ อาวุธปืน การเล่นแชร์ การใช้นามสกุล "นาง"หรือ "นางสาว" การจดทะเบียนกะต่างชาติ
วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
การเล่นแชร์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)