วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ลูกถูกหมา (คนอื่น)กัด

ลูกถูกหมา (คนอื่น)กัด


เดี๋ยวนี้ไปไหนมาไหนเห็นคนเดินจูงสุนัขเกลื่อนไปหมด บางคนเอาสุนัขไปแปลงโฉมตัดขนเล็มขน บางคนจับมันแต่งตัวใส่กระโปรงนุ่งกางเกง ถึงกับมีร้านตัดชุดสำหรับสุนัขโดยเฉพาะ แถมเวลาเจ้าของมีธุระต่างจังหวัดไม่ส่ามารถเอาสุดที่รัก(สุนัข) ไปด้วย ยังเอาสุดที่รัก(สุนัข) ไปเข้าโรงแรมสำหรับสุนัขได้ด้วย

แต่ก่อนหาคนอยากเรียนหมอรักษาสัตว์หรือสัตวแพทย์ลำบากเหลือเกินเดี๋ยวนี้สัตวแพทย์รายได้ดีมาก ต่างคนต่างแย่งกันเรียน เปิดคลีนิครักษาสัตว์เฉพาะสุนัขก็รวยไม่เลิกอยู่แล้ว ท่านผู้อ่านลองสังเกตดูว่า เดี๋ยวนี้โลกมันกลับตาละปัตร สายอาชีวะแต่ก่อนว่าด้วย แต่เดี๋ยวนี้จบสายอาชีวะสามารถทำเงินได้มากกว่าสายสามัญ ขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นบ้านที่คนจนเขากินกัน เดี๋ยวนี้ขึ้นภัตตาคาร ราคาแพง น้ำพริกกุ้งเสียบแต่ก่อนชาวบ้านกินกัน เศรษฐีต้องกินหูฉลาม เดี๋ยวนี้ น้ำพริกกุ้งเสียบชุดละ 60 บาท ดังนั้น หากท่านผู้อ่านคิดจะทำอะไร ลองนึกถึงเรื่องเก่า ๆ แล้วหยิบของเก่า ๆ สมัยโบราณมาทำขายดูซิ ดีไม่ดีอาจจะเป็นเศรษฐีในพริบตา

คุยนอกเรื่องไปเยอะแลย เรากลับมาเรื่องสุนัขของเราต่อนะครับ การเลี้ยงสุนัขบางคนเลี้ยงลูกสุนัขขนาดใหญ่ดูท่าทางน่ากลัว บางคนก็เลี้ยงสุนัขพันธุ์ล่าเนื้อ เอาดุ ๆ เข้าว่า ขโมยโจรได้ยินเสียงต้องถอยฉากก่อนว่างั้นเหอะ บางคนเลี้ยงขนาดกระเป๋า บางคนเลี้ยงขนาดรูปร่าง พันธุ์เห่ามั่งไม่เห่ามั้ง ทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่

วันดีคืนดี ถ้าเราเปิดประตูบ้านทิ้งไว้ มันจะเข้ามาถ่ายในสนามหน้าบ้านเป็นประจำ ถ้าไม่เปิดประตูมันัก็ไม่มายุ่ง จนวันหนึ่งทนไม่ได้จึงปักป้ายว่า "ถ้าหมายเข้ามาขี้อีก หมาตาย" ปรากฎว่าน่าแปลกที่สุนัขบ้านเพื่อนบ้านมันฉลาดมาก มันอ่านป้ายรู้เรื่อง ตั้งแต่นั้นมามันไม่เคยเข้ามาถ่ายในสนามหน้าบ้านอีกเลย

ท่านผู้อ่าน เมื่อนึกถึงลูกอันเป็นดวงใจของเราจะตัวเล็ก ตัวใหญ่ขนาดไหน ก็ตามอาจจะเคยถูกหมาไล่งับมาบ้าง ไม่มากก็น้อย อย่างน้อยก็ถูกหมาเห่า เพียงแค่นั้นไม่เกิดปัญหามาให้เราคุยกันแน่ แต่ที่เรามาคุยกันวันนี้ เป็นกรณีที่หมามันกัด แต่ถ้าเป็นหมาของคนที่ไม่ค่อบชอบขี้หน้ากันอยู่ คงจะปรึกษาว่าทำอย่างไรที่จะเอามันเข้าคุกให้ได้ อย่าเพิ่งถึงขนาดนั้นเลย

ก่อนอื่นเรามาดูหลักกฎหมายกันก่อน เพราะเรื่องนี้มีกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ในทางอาญา กฎหมายเขาบอกว่า " ผู้ใดควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้ายปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพังในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินครึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

เห็นไหม ยังไม่ต้องถึงไม่กัดใครเข้านะ เพียงแค่เดินไปคำรามแฮ่ ใส่คนโน้น คนนี้ เจ้าของก็นโดนแจ๊คพอต เข้าให้แล้ว คำว่าสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย หมายถึง สัตว์อะไรก็ได้ที่มันดุร้ายหรือมันร้าย รวมถึงหมาที่เห็นคนแปลกหน้าที่ไม่ใช่เจ้าของแล้วกระโจนใส่ แต่ไม่หมายรวมถึงลูกเกเรของใครที่พอออกนอกบ้านแล้วชอบเที่ยวไปตีหัวหรือชกต่อยลูกคนอื่น เพราะเขาเป็นมนุษย์ไม่ใช่สัตว์

ในทางแพ่ง กฎหมายเขาบอกไว้ว่า "ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยง รับรักษาไว้แทนเจ้าของ จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหาย เพื่อความเสียหายอย่าง ใด ๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะได้พิสูจน์ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยง การักษาตามชนิด และวิสัยของสัตว์หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่นหรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้น ย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น

อนึ่ง บุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่น อันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้น ๆ ก็ได้

ดังนั้น หากเกิดกรณีลูกของท่านถูกหมากัดคนอื่นกัด ก็คงจะต้องพูดคุยเจรจากันก่อน หากหัวหมอก็ไปแจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีกับเจ้าของหมา แต่เนื่องจากเป็นความผิดลหุโทษ ตำรวจอาจเปรียบเทียบปรับได้ แต่หากท่านในฐานเป็นผู้เสียหายไม่ยอมให้เปรียบเทียบปรับ ตำรวจก็จะส่งเรื่องไปที่อัยการ แล้วอัยการก็จะไปยื่นฟ้องเจ้าของหมาที่ศาล

ส่วนในเรื่องการเรียกร้องค่าเสียหายหากตกลงกันได้เองก็จบกันไป แต่ขอแนะนำว่าน่าจะตกลงอะไรกันให้ทำบันทึกไว้ หากตกลงกันไม่ได้ก็ต้องไปยื่นฟ้องที่ศาลเรียกร้องค่าเสียหาย

แต่ก่อนจะดำเนินการตามกฎหมาย อย่าลืมล้างแผลให้ลูกด้วยสบู่ก่อนนะ แล้วพาไปหาหมอ จากนั้นก็ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมหมาที่มากัดลูกเรา ว่ามีอาการโรคกลัวน้ำหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องรีบดำเนินการให้หมอจัดการฉีดยาแก้โรคกลัวน้ำเสียนะ

ให้

ให้
การให้ตามกฎหมายคืออะไร เรามาดูตัวบทกฎหมายกันดีกว่า กฎหมายบอกว่า "อันว่าให้นั้นคือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น"
ให้โดยเสน่หา ก็คือ ให้ด้วยความรัก ความพอใจ ของผู้ให้นั้นแหล่ะ
ที่นี้เมื่อให้แล้วจะเอาคืนได้หรือไม่  มีทั้งได้และไม่ได้
เดี๋ยว อย่าพึ่งหาว่ากวนอวัยวะเบื้องล่าง เหตุที่เขียนอย่างนี้เพราะกฎหมายเขาบอกว่า
"อันผู้ให้จะเรียกให้ถอนคืนการให้ เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้นท่านว่าอาจจะเรียกได้เพียงแต่ในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้
1) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญาหรือ
2) ถ้าผู้ได้รับทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
3) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้ และผู้รับยังสามารถจะให้ได้"

กฎหมายเรียกคืนการให้ได้เพราะเหตุ 3 อย่างข้างต้นนี้เท่านั้น แต่กฎหมายก็ยังเข้มงวดจำกัดลงไปอีกว่า ถึงแม้จะคืนการให้ได้ด้วยเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณก็ตาม "เมื่อผู้ให้ได้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณนั้นแล้วก็ดี หรือเมื่อเวลาล่วงเลยไปแล้ว 6 เดือน นับแต่เหตุเช่นนั้นได้ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ได้นั้นก็ดี ท่านว่าหาอาจจะถอนคืนการให้ได้ไม่

อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดี เมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้น
เห็นมั้ย ถึงแม้จะเรียกคืนการให้ด้วยเหตุประพฤติเนรคุณแต่ถ้าหากผู้ให้ได้ให้อภัยแล้วก็หมดสิทธิที่จะถอนคืนการให้ หรือปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปแล้วถึง 6 เดือน นับแต่ได้ทราบเหตุที่ผูรับประพฤติเนรคุณ ก็ถอนคืนการให้ไม่ได้ และหากว่าจะทราบเหตุถอนคืนการให้เมื่อเวลาล่วงพ้นไปแล้วถึง 10 ปี ก็ฟ้องไม่ได้เช่นกัน

ในกรณีที่ตอบว่า "ไม่ได้" ก็มีกฎหมายเขาเขียนไว้ว่า
"การให้อันัจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าจะถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้คือ
1) ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้
2) ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน
3) ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
4) ให้ในการสมรส

ถ้าอยู่ในสี่จำพวกนี้แล้วหมดสิทธิถอนคืนการให้เด็ดขาด

เรามาดูความหมายของแต่ละข้อดีไหม จะได้รู้ว่าให้แบบไหนที่ถอนคืนการให้ไม่ได้ แม้จะเป็นเพราะเหตุเนรคุณ
ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ ก็คงเป็นที่เข้าใจโดยง่ายว่าเป็นเรื่องของการให้เป็นค่าจ้างหรือการตอบแทนผู้รับได้ทำอะไรให้แก่ผู้ให้ซึ่งไม่ใช่เป็นการทำให้กันเปล่า ๆ แต่ผู้รับก็ทำให้โดยไม่ได้คิดค่าจ้าง ผู้จ้างก็เลยยกทรัพย์สินให้เป็นบำเหน็จ

ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน หมายถึง เป็นการให้ที่ผู้ให้ได้ให้ทรัพย์สินไปแล้ว แต่มีเงื่อนไขให้ผู้รับต้องปฏิบัติต่อไปเกี่ยวกับการให้นั้น เช่น พ่อจะยกที่ดินให้ลูกแต่มีเงื่อนไขให้ลูกใช้หนี้และไถ่จำนองก่อน เมื่อลูกใช้หนี้และไถ่จำนองให้แล้ว พ่อจึงยกที่ดินให้ลูก กรณีที่พ่อให้ลูกกรณีนี้ เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน
ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา เป็นกรณีที่ผู้ให้ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย แต่มีหน้าที่ตามศีลธรรมตัวอย่างที่หนึ่ง กรณีชายฉุดคร่าหญิงไปเป็นภรรยา ต่อมาได้ขอขมาและยกที่ดินให้กับพี่ชายของหญิง ซึ่งพี่ชายของหญิง ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงดูแต่เมื่อชายยกที่ดินให้เช่นนี้ เป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยา เอ้า ลองมาดูอีกหน่อย พ่อยกที่ดินที่มีราคาสูง และทรัพย์ส่วนใหญ่ให้ลูกสาวแต่ผู้เดียว บุตรคนอื่นไม่ให้กรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา นะ เป็นการให้โดยเสน่หา ซึ่งสามารถถอนคืนการให้ เพราะเหตุเนรคุณได้
ให้ในการสมรส โดยความหมายแล้ว ก็คือ ให้ในขณะทำการสมรส หรืออาจจะให้ก่อนสมรส แต่ต้องไม่ใช่ให้หลังการสมรส
เรื่องของการให้อย่างง่าย ๆ ที่ผู้อ่านพอจะทำความเข้าใจได้ง่าย ๆ ก็มีแค่นี้หล่ะ

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การขอรับการสงเคราะห์เมื่อบ้านถูกลมพัดพังหรือไฟไหม้

การขอรับการสงเคราะห์เมื่อบ้านถูกลมพัดพังหรือไฟไหม้


๑.สถานที่ติดต่อ
- ไปที่ที่ว่าการอำเภอ

๒.หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ
- บัตรประจำตัวประชาชน

การขอทำใบขับขี่รถยนต์ส่วนตัวและรถจักรยานยนต์

การขอทำใบขับขี่รถยนต์ส่วนตัวและรถจักรยานยนต์


๑.อายุของผู้ทำใบขับขี่
- ผู้ขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์
- ผู้ขอทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ความจุกระบอกสูบขนาดไม่เกิน ๙๐ ลูกบาศก์เวนติเมตร ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปี บริบูรณ์

๒.สถานที่ติดต่อ
- มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครไปติดต่อสำนักงานทะเบียนรถยนต์กรมขนส่งทางบก หรือสำนักงานทะเบียนรถยนต์ สาขาที่เขตบางขุนเทียน เขตพระโขนง เขตหนองจอก หรือเขตตลิ่งชันแล้วแต่กรณี มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด ไปติดต่อ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งสาขา (ถ้ามี)

๓.หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางแล้วแต่กรณีพร้อมภาพถ่าย
- ภาพถ่ายหรือสำเนาทะเยียนบ้าน , ใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือหลักฐานแสดงที่พักอาศัยในราชอาณาจักร หรือผู้ยื่นคำขอในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองซึ่งมิใช่เป็นการเข้ามาเพียงการท่องเที่ยว การเล่นกีฬา หรือการเดินทางผ่านราชอาณาจักรแล้วแต่กรณี
- ใบรับรองแพทย์ แสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถและไม่เป็นบุคลวิกลจริต หรือ จิตฟั่นเฟือน
- รูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรง ไม่สวมหมวก และแว่นดำ เว้นแต่บุคคลซึ่งจำเป็นต้องสวมหมวกหรือดพกผ้าตามลัทธิศาสนาของตน ขนาด ๓*๔ เซนติเมตร จำนวน ๒ รูป ซึ่งถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน ๖ เดือน
- ถ้ามีหลักฐานดังต่อไปนี้ต้องนำไปด้วย
- ใบอนุญาตเป็นผู้ขอรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกหรือกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร
- ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศตามอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน ทำ ณ นครเจนีวา ค.ศ.๑๙๔๙

การขออนุญาตตั้งร้านค้าแบบเจ้าของคนเดียว

การขออนุญาตตั้งร้านค้าแบบเจ้าของคนเดียว
๑.สถานที่ติดต่อ
ในเขตกรุงเทพมหานครติดต่อที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในต่างจังหวัด
- ในเขตอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ให้ติดต่อ ณ สำนักงาน
- ในเขตอำเภอที่กฎหมายกำหนด ให้ติดต่อที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ได้แก่
- จังหวัดตรัง
- อำเภอเมืองตรัง และกันตัง
- จังหวัดนครศรีธรรมราช
- อำเภอปากพนัง
- จังหวัดภูเก็ต
- ทุกอำเภอในจังหวัดภูเก็ต
- จังหวัดสงขลา
- อำเภอหาดใหญ่
- จังหวัดอุบลราชธานี
- อำเภอวารินชำราบ
- ในเขตอำเภอให้ติดต่อ ณ ที่ทำการปกครองประจำแต่ละกิ่งอำเภอ
- ในเขตอำเภออื่น ๆ ให้ติดต่อ ณ ที่ทำการปกครองประจำแต่ละกิ่งอำเภอ
๒.หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
๓.ค่าธรรมเนียม
- เสียค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการจดทะเบียน ๕๐ บาท
๔.ข้อควรทราบ
- การค้าเร่ การค้าแผงลอย หรือพาณิชย์เพื่อบำรุงศาสนาใด ๆ หรือเพื่อการกุสลพาณิชย์กิจของนิติบุคคล ซึ่งได้มี พ.ร.บ. หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น พาณิชย์กรทรวง ทบวง กรมพาณิชย์ ของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ พาณิชย์ ซึ่ง รมต. ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ยกเว้นไม่ต้องไปจดทะเบียน

การขอทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณสัตว์พาหนะ

การขอทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณสัตว์พาหนะ
๑.สัตว์พาหนะ
- ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา

๒.สัตว์พาหนะที่ต้องไปจดทะเบียนทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณภายในเวลาที่กำหนด
- ช้างมีอายุย่างเข้าปีที่แปด ต้องขอทำตั๋วฯ ภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนในประกาศและกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน
- สัตว์อื่นนอกจากโคตัวเมียอายุย่างเข้าปีที่หกต้องขอทำตั๋วภายในระยะเวลาเช่นเดียวกับกรณีช้างมีอายุย่างเข้าปีที่แปด
- สัตว์ที่ได้ใช้ขัยลากเข็น หรือใช้งานแล้วต้องขอทาตั๋วฯภายในกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันได้ใช้ขับขี่ ลากเข็นหรือใช้งานแล้ว
- สัตว์ที่มีอายุย่างเข้าปีที่ ๔ เมื่อจะนำออกนอกราชอาณาจักรต้องยื่นขอทำตั๋วฯ เสียก่อนที่จะนำออกนอกราชอาณาจักร
- โคตัวเมียอายุย่างเข้าปีที่หกต้องขอทำตั๋วฯ ก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์เว้นแต่ในกรณีรับมรดก
- สัตว์พาหนะซึ่งนำมาจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรต้องขอทำตั๋วฯ ตามความดังกล่าวข้างต้นโดยอนุโลม ถ้าได้นำเข้ามาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาหรือภายในกำหนดนั้นแต่ยังเหลือเวลาน้อยกว่าสามสิบวันตามประกาศ ต้องขอจดทะเบียนทำตั๋วฯ ภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่นำเข้ามาชั่วคราว

๓.สถานที่ทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณ
- ที่ว่าการอำเภอท้องที่สัตว์นั้นอยู่

๔.หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- สัตว์พาหนะที่จะขอจดทะเบียนทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณ(เว้นแต่ไม่สามารถที่จะนำไปได้)
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของ
- ถ้าเจ้าของไม่ไปเองจะมอบหมายให้ตัวแทนไปก็ได้
- ผู้ใหญ่บ้านหรือพยานกรณีไม่มีผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้ใหญ่ป้านไปด้วยไม่ได้

๕.ค่าธรรมเนียม
- ค่าจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณช้าง ๕ บาท
- ค่าจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ๕๐ สตางค์
- ใบแทนตั๋วรูปพรรณช้าง ๑ บาท
- ค่าใบแทนตั๋วรูปพรรณ ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ๕๐ สตางค์

๖.โทษของผู้ฝ่าฝืนไม่ไปขอจดทะเบียนทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณภายในกำหนด
- ปรับไม่เกิน ๕๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๑๐ วัน หรือทั้งปรับทั้งจำ

๗.สัตว์พาหนะอื่น
- สัตว์ที่กฎหมายไม่บังคับให้ต้องไปขอจดทะเบียนทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณเจ้าของจะจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณก็ได้

การขอซื้อขอมีและขอใช้อาวุธปืน

การขอซื้อขอมีและขอใช้อาวุธปืน

๑.สถานที่แจ้ง
- คนที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ขอที่กรมการปกครอง
- คนที่อยู่ต่างจังหวัดขอต่อนายอำเภอท้องที่ ที่มีภูมิลำเนาอยู่

๒.หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- บัตรแระจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ที่ผู้ขอมีภูมิลำเนาเป็นผู้รับรองความประพฤติ ( สำหรับท้องที่ต่างจังหวัด) พร้อมหลักฐานแสดงฐานะ และหลักทรัพย์
-ในกรณีที่เป็นข้าราชการต่ำกว่าซี ๘ ต้องมรหนังสือรับรองความประพฤติจากผู้บังคับบัญชา

๓.ค่าธรรมเนียม
- ค่าใบอนุญาตให้มีอาวะปืน(ป.๔)
- ปืนยาวประจุปากกระบอก ปืนอัดลม บันละ ๕๐ บาท
- ปืนอื่น ๆ ฉบับละ ๑๐๐ บาท
- ค่าใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืน (ป.๓) กระบอกละ ๕ บาท

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเล่นแชร์

  • แชร์มีการเล่นในประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้วเดิมการเล่นแชร์นั้นไม่มีกฎหมายควบคุม โดยเฉพาะเมื่อมีกรณีพิพาทกันขึ้น ศาลก็บังคับให้ในเรื่องสัญญาทั่วไปแต่เนื่องจากในปัจจุบันได้มีผู้ ประกอบธุรกิจเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการแล่นแชร์กันอย่างกว้างขวาง การประกอบธุรกิจดังกล่าวนอกจากจะเป็นอันตรายต่อประชาชนแล้วยังกระทบต่อการระดมเงินออมของสถาบันการเงินที่ทางราชการสนับสนุนและรับผิดชอบ และส่งผลกระทบไปถึงระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวมอีกด้วย นอกจากนี้ยังปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวหลายรายได้พยายามดำเนินการให้ใกล้เคียงกับการประกอบธุรกิจเงินทุน ซึ่งมีกฎหมายควบคุมอยู่แล้วรัฐจึงได้ออกกฎหมายห้ามการประกอบธุรกิจประเภทนี้ ส่วนการเล่นแชร์ของประชาชนทั่วไปที่มิได้ดำเนินการเป็นธุรกิจนั้น ยังให้กระทำต่อไปได้
  • การเล่นแชร์ ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 หมายความว่า การที่บุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปตกลงกันเป็นสมาชิกวงแชร์ โดยแต่ละคนมีภาระที่จะส่งเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดรวมเข้าเป็นทุนกองกลางเป็นงวดๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไปโดยการประมูลหรือโดยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการรวมทุนในลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงด้วย
  • การเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีข้อห้ามตามกฎหมายอย่างไรบ้าง ข้อห้ามตามกฎหมายที่มิให้เป็นนายแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีดังต่อไปนี้
    1. ห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนก็ห้ามด้วยเช่นกัน
    2. บุคคลธรรมดา ห้ามมิให้เป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์
    2.1 ห้ามมิให้มีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน
    2.2 ห้ามมิให้เป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่า 3 วง
    2.3 ห้ามนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่า 300,000 บาท
    2.4 นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์จะได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น นอกจากสิทธิที่จะได้รับทุนกองกลางในการเข้าร่วมเล่นแชร์ในงวดหนึ่งโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเท่านั้น
  • นอกจากนี้กฎหมายยังให้ถือว่าผู้ที่สัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ด้วย ซึ่งเฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคลไม่อาจสัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์หรือสมาชิกวงแชร์ได้ การที่สมาชิกวงแชร์เข้าร่วมเล่นแชร์กับบุคคลธรรมดาอันมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 2.1 , 2.2 , 2.3 และ 2.4 นั้นไม่ทำให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดซึ่งสมาชิกส่งรวมเข้าเป็นทุนกองกลางเป็นงวดๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไปโดยการประมูลหรือโดยวิธีอื่นใดแล้วต้องเสียไปเปล่า สมาชิกวงแชร์สามารถฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ได้
  • การโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์สามารถทำได้หรือไม่ การโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์ไม่สามารถทำได้เพราะ ถ้าอนุญาตให้มีการโฆษณาชี้ชวนแล้วจะมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจ การใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในทางธุรกิจที่มีคำว่า “แชร์” หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกันและรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วต้องห้ามตามกฎหมาย ในกรณีที่มีการประกาศของรัฐมนตรีแล้ว ให้ผู้ที่ใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจที่มีคำที่รัฐมนตรีประกาศอยู่แล้วในมีวันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อดังกล่าวต่อไปได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ
  • การเล่นแชร์กันก่อนที่กฎหมายประกาศ ใช้บังคับจะมีผลหรือไม่อย่างไร
    1. ผู้ที่เป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์กันก่อนที่กฎหมายจะกำหนดข้อห้ามอาจดำเนินการดังกล่าวเฉพาะวงแชร์ที่ค้างอยู่ต่อไปได้จนกว่าจะเสร็จ แต่ต้องไม่เกินสองปี
    2. ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลและประสงค์จะดำเนินการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์เฉพาะวงแชร์ที่ยังค้างอยู่ต่อไป ให้ยื่นรายการเกี่ยวกับกิจการการเล่นแชร์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวัน
    3. ถ้านิติบุคคลใดมีวัตถุประสงค์เป็นนายวงแชร์ให้นิติบุคคลยื่นคำขอต่อนายทะเบียนยกเลิกวัตถุประสงคืดังกล่าวภายใน180 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับ เว้นแต่นิติบุคคลนั้นยังมีการเล่นแชร์ที่ค้างอยู่ให้นิติบุคคลนั้นดำเนินการยกเลิกวัตถุประสงค์ดังกล่าวอย่างช้าต้องไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวบังคับใช้
    4. สัญญาที่นิติบุคคลสัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์หรือสมาชิกวงแชร์ก่อนที่กฎหมายนี้ใช้บังคับสามารถใช้ได้
    5. ผู้ที่ใช้ชื่อหรือแสดงชื่อในธุรกิจที่มีคำว่า “แชร์” อยู่แล้วในวันที่กฎหมายใช้บังคับให้ใช้ชื่อหรือคำแสดงดังกล่าวต่อไปได้ไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่เป็นผู้ที่มีวงแชร์ค้างอยู่ก็จะต้องดำเนินการต่อไปให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี
    การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการเล่นแชร์มีโทษแค่ไหนเพียงใด
  • การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการเล่นแชร์มีทั้งโทษปรับและจำคุกแล้วแต่ลักษณะของความผิดที่น่ารู้มีดังต่อไปนี้
    1. การที่บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนมากกว่า 3 วง หรือมีสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน หรือมีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่า 300,000 บาท หรือนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์นั้นได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่จะได้รับทุนกองกลางในการเข้าร่วมเล่นแชร์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    2. นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1 เท่า ถึง 3 เท่า ของทุนกองกลางแต่ละงวดของทุกวงแชร์ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท และให้ศาลสั่งให้นิติบุคคลนั้นหยุดดำเนินการเป็นนายวงแชร์หรือการจัดให้มีการเล่นแชร์
    3. ผู้ใดโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
    4. ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์หรือสัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงหรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์หรือสมาชิกวงแชร์ กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการจัดการหรือบริหารงานของนิติบุคคลนั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลด้วย
    5. ผู้ใดใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจที่มีคำว่า “แชร์” หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 500 บาทตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน